ไลฟทูน คีเลต แมกนีเซียม 100มก. 60เม็ด



ไลฟทูน ซีวีดแคลเซียมพลัส มิเนอรัล 1,000มก. 45แคปซูล



ไลฟทูน คีเลต ซิงค์ 15มก. 90เม็ด



ไลฟทูน คีเลต โครเมี่ยม 100มก. 90เม็ด



ไลฟทูน น้ำมันปลาไร้กลิ่น 1,000มก 45แคปซูล



ไลฟทูน กรีนลิฟท์มัสเซิล+ฟิชออยล์ 1,000มก. 45แคปซูล

เมื่อวันที่คุณหรือคนใกลัตัวต้องเข้ารับเคมีบำบัด

คงหลีกเลี่ยงได้ยากที่คนเราเมึ่อได้ประสบกับโรคมะเร็งแล้วจะไม่ต้องทำอะไรเลย หากแต่ว่าในการรักษาแผนปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้าอย่างมาก เนื่องด้วยมีการวิจัย และพัฒนาในเรื่องการรักษาให้โรคมะเร็งนั้นหายขาดได้มาตลอดหลายสิบปีนึ้ การ รักษาด้ายเคมีบำบัดมีจฺดมุ่งหวังที่จะทำลายเซลล์มะเร็งเพื่อให้คนไข้นั้นมีโอกาสที่จะหายขาดจากโรค แต่ด้วยวิธีการรักษายังไม่มีความจำเพาะเจาะจงมาก ทำให้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เซลล์ปกติจะได้รับความเสียหายด้วย เมื่อเซลล์ปกติถูกทำลายอาจเกิด อาการข้างเคียง เราจึงควรเตรียมตัวให้พร้อม ถ้าการเตรียมความพร้อมดีและทำจิตใจใหัสบาย อาการแทรกซ้อนก็จะน้อย แต่หากเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้น การใช้หลักโภชนบำบัดและการดูแลตัาเองที่ถูกต้องจะมีส่วนช่ายในการดูแลสุขภาพได้ดีมากขึ้น จนไม่ต้องทุกข์ทรมานกับอาการข้างเคียงของการได้ร้บเคมีบำบัด

 
เมื่อคุณหรือคนใกล้ตัวคุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด สิ่งแรกที่ควรสนใจคือการรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการเพี่อเสริมสร้างพละกำลัง และ
หลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่กำลังป่วยหรือคนเป็นหวัดเพื่อป้องกันการติดต่อโรค เนื่องจากโดยส่วนใหญ่คนที่ได้รับเคมีบำบัดมักจะมีภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง สิ่งสำคัญต่อมา คือกำลังใจ เป็นสิ่งสำคัญมากไม่ต่างกับกำลังกาย สำหรับผู้ใกล้ชิดควรรับเป็นที่ ปรึกษาบ้างเพื่อรับฟังปัญหาด้านอารมณ์หรือถ้าเราทำไม่ได้ ควรหาทางติดต่อกับที่ปรึกษาที่เป็นทีมงานด้านสุขภาพ เช่นพยาบาลผู้สอนแสดงตามโรงพยาบาลต่างๆ หรือมูลนิธิชมรมในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เป็นต้น การที่ผู้ป่วยสามารถเรียนรู้ที่จะช่วยตัวเองได้ ทำให้สามารถควบคุมตัวเองและอารมณ์ได้ดี อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยากับการทำเคมีบำบัด เพื่อจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับผลข้างเคียงต่างๆ และวางแผนการดูแลต่อไป

หากคุณเป็นคนใกล้ชิดกับคนไข้นั้นมีโอกาสจะไปพบแพทย์ด้วยกัน ก่อนเข้าพบสิ่งที่อยากให้เตรียมตัวคือการเตรียมจดบันทึกหรือขอรายงานข้อมูลที่เกี่ยากับการรักษาจากแพทย์ เพื่อที่จะได้ช่วยทำความเข้าใจ และยังช่วยเตือนความทรงจำได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่อยากให้พึงระลึกไว้เสมอคือ อย่ากลัวที่จะถามแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร ถามได้เท่าที่ต้องการ ถ้าไม่เข้าใจคำตอบ สามารถถามได้จนกว่าจะเข้าใจ เพราะบุคคลเหล่านี้คือผู้ที่จะสามารถบอกให้เราใหัเข้าใจหลักการดูแลตัวเองในยามที่เจ็บป่วยได้ดีที่สุดแล้ว
 
เมื่อเริ่มเข้ารับเคมีบำบัดนั้นมีโอกาสที่จะเกิดผลข้างเคียงดังนี้

  - ความอยากอาหารลดลง
  - น้ำหนักลด หริอน้ำหนักเพิ่ม
  - มีแผลในช่องปาก
  - ปากแห้ง
  - การรับรสและกลิ่นเสีย
  - คลื่นไส้อาเจียน
  - ท้องเสีย
  - ท้องผูก
  - เมื่อยล้า
  - ซึมเศร้า


เหล่านึ้เรียกได้ว่าคุณภาพชีวิตอาจแย่ลง ซึ่งผู้ป่วยอาจพบอาการข้างเคียงดังกล่าว หรือไม่พบก็ได้อาการข้างเคียงทั้งหมดจะเกิดขึ้นระหว่างการรักษา มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล และค่อยๆ หายไปหลังการรักษา ควรปรึกษาแพทย์ถึงผลข้างเคียงของวิธีรักษาแต่ละชนิดที่เกิดขึ้นก่อนการรักษาเพื่อจะได้เตรียมตัาให้พร้อม หากการเตรียมความพร้อมดีและทำจิตใจใหัสบาย อาการแทรกซ้อนก็จะน้อย แต่หากเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้น ไม่ต้องกังวล ควรทำใจให้สบาย
 
นอกจากนี้ในปัจจุบันมีวิทยาการใหม่มากมายที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตในช่วงก่อน และระหว่างการรักษาด้ายเคมีบำบัด เช่นหลักโภชนบำบัดหรือการรับประทานยาที่มี คุณสมบัติในการปรับภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้นได้ (ยาจากสารสกัด polysaccharopeptide จากเห็ดในตระกูล Coriolus versicolor สายพันธุ์ COV-1) ซึ่งเหล่านี้ควรได้รับการ ยินยอมหรือควรแจ้งแพทย์ผู้รักษาให้ทราบทุกครั้ง

อ้างอิงจาก

1. http://www.nccn.com

2. http:/www.chulacancer.net

3. Qian, Z.M. et al. Polysaccharide peptide (PSP) restores immunosuppression induced by cyclophosphamide in rats. Am. J Chin. Med. 25, 27-35 (1997).

4. Chan, S.L. et al. Effects of polysaccharide peptide (PSP) from Coriolus versicolor on the pharmacokinetics of cyclophosphamide in the rat and cytotoxicity in HepG2 cells. Food Chem. Toxicol 44: 689-694 (2006).