ไลฟทูน คีเลต แมกนีเซียม 100มก. 60เม็ด



ไลฟทูน ซีวีดแคลเซียมพลัส มิเนอรัล 1,000มก. 45แคปซูล



ไลฟทูน คีเลต ซิงค์ 15มก. 90เม็ด



ไลฟทูน คีเลต โครเมี่ยม 100มก. 90เม็ด



ไลฟทูน น้ำมันปลาไร้กลิ่น 1,000มก 45แคปซูล



ไลฟทูน กรีนลิฟท์มัสเซิล+ฟิชออยล์ 1,000มก. 45แคปซูล

น้ำมันปลา...มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

น้ำมันปลา...มีประโยชน์มากกว่าที่คิด



น้ำมันปลา หรือ Fish Oil คือส่วนที่สกัดมาจากจากส่วนของเนื้อ หนัง หัว หาง ของปลา โดยส่วนมากจะเป็นปลาทะเลในเขตหนาว ปลาซาร์ดีน  ปลาแซลมอน  ปลาทูน่า ปลาแอนโชวี่ เป็นต้น ซึ่งใน น้ำมันปลา จะมีกรดไขมันอยู่หลายชนิด จะประกอบด้วย กรดไขมันโอเมก้า-3 และกรดไขมันโอเมก้า-6 สำหรับ น้ำมันปลา มีกรดไขมันโอเมก้า-3 จะแบ่งออกเป็น EPA และ DHA เป็นหลักเป็นกรดไขมันที่มีความจำเป็นต่อร่างกายอย่าง เพราะว่าร่างกายไม่สามารถสร้าง น้ำมันปลา ขึ้นมาเองได้ ซึ่งจะต้องได้รับ น้ำมันปลา จากสารอาหารเท่านั้น 

 

น้ำมันปลาต่างจากน้ำมันตับปลาอย่างไร

ต่างตรงที่ น้ำมันตับปลา สกัดจากตับของปลาทะเลบางชนิด ซึ่งมีวิตามิน A และ D ในปริมาณสูง จึงเหมาะสำหรับเสริมสร้างกระดูกและสายตา แต่ น้ำมันปลา มีประโยชน์ของการลดไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) และน้ำมันปลายังเพิ่มระดับของ เอช ดี แอล โคเลสเตอรอล (HDL Cholesterol) ซึ่งเป็นไขมันที่ดี จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน ลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในกระแสเลือด และช่วยบำรุงประสาทและสมอง

 

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง สำหรับการเลือกผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารประเภทน้ำมันปลานั้น


1.การรับประทาน น้ำมันปลา เป็นอาหารเสริม เพื่อป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ควรรับประทานวันละ 1,000 มิลลิกรัมหลังอาหาร  แต่ถ้าการรับประทานเพื่อรักษาโรค ควรรับประทานวันละ 3,000 มิลลิกรัม หรือตามคำแนะนำของแพทย์

2.การเลือกซื้ออาหารเสริมที่มี น้ำมันปลา ควรจะดูที่ปริมาณ
DHA และ EPA เป็นหลัก โดยควรมีน้ำมันปลามากกว่า 20% ปริมาณทั้งหมด เช่น น้ำมันปลา ขนาด 1000 มิลลิกรัม ควรมี DHA + EPA มากกว่า 200 มิลลิกรัม และอัตราส่วนของ DHA : EPA นั้นควรจะเป็น 1:2 หรือ 2:3 เพื่อการออกฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพ 

3.การรับประทานอาหารเสริม น้ำมันปลา ที่มีโอเมก้า-3 ในปริมาณสูง อาจทำให้บางคนเกิดอาการฟกช้ำ เลือดออกได้ง่ายจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ดังนั้นผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดอาการฟกช้ำหรือเลือดออกง่าย ควรหลีกเลี่ยงอาหารเสริมที่มี น้ำมันปลา อยู่

4.ผู้ที่กำลังรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น  Warfarin) หรือ ยาแอสไพริน ไม่ควรรับประทาน น้ำมันปลา ที่มีโอเมก้า-3 หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน

5.ผู้ที่มีภาวะความดันต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทาน น้ำมันปลา เพราะ น้ำมันปลา จะลดความดันของคุณให้ต่ำลงไปอีก

 

นอกจากนั้น หากต้องการลดระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด ให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ควรจะรับประทาน น้ำมันปลา ควบคู่กับการควบคุมอาหาร โดยรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม และควรหลีเลี่ยง เนื้อสัตว์ ไข่แดง  และอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ ไขมันจากเนื้อสัตว์ หนังสัตว์ เป็นต้น