ไลฟทูน คีเลต แมกนีเซียม 100มก. 60เม็ด



ไลฟทูน คีเลต ซิงค์ 15มก. 90เม็ด



ไลฟทูน คีเลต โครเมี่ยม 100มก. 90เม็ด

โรคเบาหวาน กับปัญหาช่องปากและฟัน

 โรคเบาหวานไม่ใช่แค่เพียงปัญหาการควบคุมน้ำตาลเท่านั้น เพราะเมื่อการควบคุมน้ำตาลไม่ดีแล้ว ไขมันในเลือดจะผิดปกติไปด้วย ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายเสื่อมสภาพเร็ว เสียความยืดหยุ่น ผนังขรุขระ ทำให้เกิดการอุดตันได้ง่าย เรียกได้ว่ามีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบสมอง ไตเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม รวมไปถึงเกิดปัญหาในช่องปาก โดยเฉพาะโรคเหงือกและฟัน หรือโรคปริทันต์


              โรคปริทันต์ คือ โรคที่เกิดกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะรอบ ๆ ตัวฟัน ได้แก่ เหงือก เนื้อเยื่อปริทันต์ และกระดูกหุ้มรากฟัน ในระยะแรกที่เป็นโรคนี้จะไม่มีอาการใด ๆ ต่อมาจะมีการทำลายอวัยวะเหล่านี้ทำให้กระดูกหุ้มรากฟันละลายและเหงือกร่น อาจมีการปวดบวม ฟันโยกและหลุดในที่สุด คนทั่วไปมักเรียกว่า โรครำมะนาด

              ผู้ป่วยเบาหวานและมีอาการปริทันต์อักเสบจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ยาก เนื่องจากกระบวนการอักเสบ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน สูญเสียสมดุลของระดับน้ำตาล รวมถึงการไหลเวียนของเลือดเฉพาะตำแหน่งและการแลกเปลี่ยนสารอาหารลดลง ผู้ป่วยจึงมีเม็ดเลือดขาวลดลงอีกทั้งยังทำหน้าที่บกพร่อง มีภาวการณ์ขาดวิตามินบีและซี ทั้งหมดเป็นผลให้เนื้อเยื่อปริทันต์ที่ยึดรากฟันมีความต้านทานต่อการติดเชื้อลดลง ทำให้ไวต่อการติดเชื้อมากขึ้น ทั้งยังเกิดหินน้ำลายเพิ่มขึ้นด้วย การหายของแผลช้าลง เนื้อเยื่อปริทันต์และกระดูกรากฟันก็ถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว มักเกิดเหงือกบวม เป็นฝีหนองได้บ่อย

    เบาหวาน

              จากการศึกษาวิจัยขนาดใหญ่ที่ดูความสัมพันธ์ของปริทันต์อักเสบกับสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน โดย Southerland และคณะในปี 2012 ในผู้ป่วยเบาหวาน 5,257 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่เป็นเบาหวาน พบว่าผู้ป่วยเบาหวานที่มีปริทันต์อักเสบขั้นรุนแรง จะมีผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัญหาเหงือกอักเสบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พูดง่าย ๆ คือ ผู้ป่วยเบาหวานจะเป็นโรคเหงือกมากกว่าและรุนแรงกว่าคนทั่วไป

              หากดูแลการอักเสบของเหงือกรอบฟันให้ดีขึ้น จะสามารถช่วยให้เบาหวานควบคุมได้ดีขึ้น และในทางกลับกัน หากควบคุมเบาหวานให้ดีก็จะลดปัญหาการอักเสบของเหงือกได้เช่นกัน

    วิธีป้องกันและดูแลปัญหาโรคเหงือกสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
              
               คุมอาหารให้ดี โดยระวังการกินอาหารให้เหมาะสมกับร่างกาย ไม่ให้อ้วนเกินไปหรือผอมเกินไป
               กินยาเบาหวานให้ตรงเวลาสม่ำเสมอ
               ออกกำลังกายตามสมรรถภาพของร่างกาย
               ดื่มน้ำเปล่าสะอาดอย่างน้อยวันละ 6 แก้ว 
               ดูแลสุขลักษณะในช่องปากอย่างเหมาะสม โดยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 เวลา และทำความสะอาดฟันและฟันปลอมโดยการบ้วนปากหรือแปรงฟันหลังอาหาร
               พบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง (6 เดือน) หรือเมื่อมีอาการผิดปกติในช่องปาก เช่น เหงือกบวมแดง มีเลือดหรือหนองออก ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี โดยหาสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้